บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2018

สุขศึกษาและพลศึกษา

รูปภาพ
สุขศึกษาและพละศึกษา สมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกาย ( Physical  Fitness) ความหมาย สมรรถภาพทางกายหมายถึง  สภาวะความสมบูรณ์ของร่างกายที่จะประกอบกิจกรรมทางกายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีพลังงานเหลือไว้ใช้ในสภาวะที่จำเป็น สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ( Health – Related Physical Fitness)            ความสามารถของระบบต่างๆ ในร่างกายประกอบด้วย ความสามารถเชิงสรีรวิทยาด้านต่างๆ ที่ช่วยป้องกันบุคคลจากโรคที่มีสาเหตุจากภาวะการขาดการออกกำลังกาย    นับเป็นปัจจัยหรือตัวบ่งชี้สำคัญของการมีสุขภาพดี ความสามารถหรือสมรรถนะเหล่านี้ สามารถปรับปรุงพัฒนาและคงสภาพได้ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1.         องค์ประกอบของร่างกาย  (Body Composition)   ตามปกติแล้วในร่างกายมนุษย์ประกอบ ด้วย กล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน และ ส่วนอื่นๆ แต่ในส่วนของสมรรถภาพทางกายนั้น หมายถึง สัดส่วนปริมาณไขมันในร่างกายกับมวลร่างกายที่ปราศจากไขมัน โดยการวัดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ไขมัน 2.         ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด  (Cardiorespiratory Endurance)   หมายถึง

แนะแนว

รูปภาพ
แนะแนว การแนะแนวอาชีพ  เป็นกระบงนการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนมีงานทำโดยสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน  กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม  ได้จัดให้มีการ แนะแนวอาชีพ แก่นักเรียน นักศึกษา ผู้หางานทำ และประชาชนทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจในโลกของอาชีพและการทำงาน ซึ่งจะทำให้สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืนไป การ แนะแนวอาชีพ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเลือกอาชีพได้ด้วยตนเอง อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ความถนัด ความเข้าใจ ค่านิยม ของสังคม ตลอดจน สภาวะทางเศรษฐกิจ             ข้อมูลอาชีพ จัดทำขึ้นโดยกองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน เพื่อประโยชน์แก่นัก  แนะแนวอาชีพ  นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้หางานทำ ครูแนะแนว และประชาชนทั่วไป ที่จะใช้เป็นข้อมูลศึกษาในรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับ ลักษณะและสภาพการทำงาน โอกาสการมีงานทำ ความก้าวหน้าของแต่ละอาชีพ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยประกอบด้วยข้อมูลอาชีพต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาชีพที่สำคัญ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน จำนวน 100 อาชีพ

นาฎศิลป์

รูปภาพ
นาฎศิลป์ มารยาทในการชมการเเสดง มารยาทในการชมการเเสดง       มีลักษณะที่มักยึดถือกัน เพื่อแสดงความเป็นผู้มีวัฒนธรรมในการฟังดนตรี หรือที่รู้จักกันว่า “มรรยาทการชมการแสดงดนตรี ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ชมการแสดงควรปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อย และให้เกียรติแก่ผู้แสดง และสถานที่ ดังต่อไปนี้ ๑. การแต่งการเรียบร้อย      ในการไปชมการแสดงดนตรีควรแต่งกายให้เรียบร้อย เหมาะสมโดยเฉพาะการแสดงดนตรีที่เป็นพิธีการมากๆ การแต่งการแบบสากลนิยมจัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ส่วนการแสดงดนตรีทั่วๆไป นักเรียน นิสิต นักศึกษา สามารถแต่งเครื่องแบบไปชมได้ ซึ่งถือว่าเป็นการแต่งกาย ที่เรียบร้อยเหมาะสมเช่นกัน ๒. การไปถึงสถานที่แสดงก่อนเวลา      ถือเป็นธรรมเนียมการปฏิบัติที่ผู้เข้าชมควรไปถึงสถานที่แสดงก่อนเวลา และนั่งตามที่นั่งให้เรียบร้อยก่อนการแสดงจะเริ่มต้น ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยก่อนที่การแสดงจะเริ่ม และไม่เป็นการรบกวนทั้งผู้ชมที่อยู่ข้างเคียง และผู้แสดง เพราะการมาสาย ทำให้การเข้านั่งตามที่รบกวนผู้นั่งข้างเคียง และบางครั้งก็เกิดเสียงดังขณะเข้านั่งที่ จนเป็นการรบกวนสมาธิผู้แสดงด้วย ดังนั้น ถ้ามาสายคว

ศิลปะ

รูปภาพ
ศิลปะ วรรณะของสี วรรณะของสี         คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ          1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน  วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด  ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน          2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น     

วิทยาศาสตร์

รูปภาพ
วิทยาศาสตร์ พลังงานความร้อน ลังงานความร้อน   หรือ   พลังงานอุณหภาพ   ( อังกฤษ :   Thermal energy ) เป็นรูปแบบหนึ่งของ พลังงาน   มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จาก ดวงอาทิตย์   พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ การเผาไหม้ของ เชื้อเพลิง   พลังงานไฟฟ้า   พลังงานนิวเคลียร์   พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ พลังงานเปลวไฟ ฯลฯ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อนยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ " แคลอรี " โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า " แคลอรีมิเตอร์ "   บทความเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ นี้ยังเป็น โครง  คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดย เพิ่มข้อมูล  ดูเพิ่มที่  สถานีย่อย:วิทยาศาสตร์

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานสมัยประวัติศาสตร์ใน การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย        มีความเข้าใจมาช้านานแล้วว่าในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เคยมีชื่อเรียกว่า  "สุวรรณภูมิ"  ตามความเข้าใจของชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้า ขายแถบนี้ แต่ปัญหาที่มักเป็นคำถามอยู่เสมอในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยก็คือ ดินแดนสุวรรณภูมิเป็นของชนชาติใด ชนชาติไทยมาจากไหนมาจากตอนใต้ของจีน หรือมีพัฒนาการมาจากดินแดนในประเทศไทยในปัจจุบัน ปัญหาเหล่านี้มักจะเป็นข้อสงสัยในประวัติศาสตร์ไทยอยู่ตลอดเวลา       ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้น ในปัจจุบันนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้แบ่งช่วงสมัยของประวัติศาสตร์ ออกอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย ลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือช่วงระยะเวลาตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาและดำรง ชีพโดยยึดถือหลักฐานที่เป็นตามธรรมชาติเช่นเดียวกับ สัตว์โลกอื่นๆต่อมามนุษย์บางกลุ่มสามารถปรับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นโดย การนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไฟ น้ำ หิน โลหะ ไม้ เป็นต้น มาใช้ประโยชน์ สร้างสมความเจริญและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง จนสามารถพัฒนาเป็นสังคมเมือง กา

สังคมศึกษา

สังคมศึกษา การบริโภค จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา การบริโภค  อาจหมายถึง การใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือบำบัดความต้องการของมนุษย์คือ 1.การ บริโภคสินค้าคงทน ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้ทำให้สิ่งที่ถูกบริโภคหมดสิ้นหรือหมาดสภาพไป ยังใช้ได้อีกเป็นเวลานาน แต่เมื่อการใช้ย่อมเกิดการสึกหรอ 2.การบริโภคสินค้าไม่คงทน ซึ่งเป็นการบริโภคที่ทำให้สิ่งที่ถูกบริโภคหมดสิ้นไป เช่น ยารักษาโรค อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น ผู้บริโภค คือ ผู้ที่มีความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือในครัวเรือน ผู้บริโภคมีจำนวนมากทั่วประเทศ บางคนก็ตัดสินใจในการซื้ออย่างมีระเบียบแบบแผนสามารถใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ได้คุ้มค่า ชีววิทยา การบริโภค  ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศที่เป็นการกินสิ่งมีชีวิตอื่น อาการที่ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ ใช้คู่กับ อุปโภค เศรษฐศาสตร์ การบริโภค (เศรษฐศาสตร์) ฟังก์ชันการบริโภค  สูตรทางเศรษฐศาสตร์

คณิตศาสตร์

รูปภาพ
คณิตศาสตร์ กราฟและสมการเชิงเส้น ระบบสมการสองตัวแปร   คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นหนึ่งและไม่มีการคูณกันของตัวแปร       โดย  คำตอบของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรที่มี  x  และ  y  เป็นตัวแปร คือ ค่า  x  และ  y  ที่ทำให้สมการเป็นจริง                                เช่น  x+y = 6 ถ้า x และ y เป็นจำนวนนับ จะได้คู่อันดับ (x,y) ดังนี้                      (1,5),(2,4),(3,3),(4,2),(5,1)   วิธีการคิดคลิกที่นี่               เมื่อนำคู่อันดับเหล่านี้มาเขียนกราฟจะได้ 5 จุดเรียงกันให้อยู่ในแนวเส้นตรง  และถ้า x และ y เป็นจำนวนจริง กราฟของสมการ x+y = 6 จะเป็นเส้นตรงดังรูป                                กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร                    โดย จากสมการ y = mx + b เมื่อ m เป็นความชันของเส้นตรง และ b เป็นระยะที่กราฟตัดแกน y เมื่อ x = 0                 เช่น    y = 2x -3                               ความชันของเส้นตรงคือ 2                             และกราฟ ตัดแกน y ที่จุด (0,3)   วิธีการคิดคลิกที่นี่                                     

ภาษาจีน

รูปภาพ
วิชาภาษาจีน สีในภาษาจีน  คำว่า สีในภาษาจีน ตรงกับคำว่า 色 เซ่อ (sè) ซึ่งคำนี้จะถูกวางไว้ข้างหลังของคำศัพท์สีทุกสีนั่นเอง ในบทเรียนนี้เราจะมาทำความรู้จักสีสันต่าง ๆ ในภาษาจีน ว่าเขียนและพูดอย่างไร 红色 อ่านว่า หงเซ่อ (hóng sè) แปลว่า สีแดง 绿色 อ่านว่า ลวี่เซ่อ (lǜ sè) แปลว่า สีเขียว 白色 อ่านว่า ไป๋เซ่อ (bái sè) แปลว่า สีขาว 黑色 อ่านว่า เฮยเซ่อ (hēi sè) แปลว่า สีดำ 蓝色 อ่านว่า หลานเซ่อ (lán sè) แปลว่า สีฟ้า , สีน้ำเงิน 黄色 อ่านว่า หวงเซ่อ (huáng sè) แปลว่า สีเหลือง 橙色 อ่านว่า เฉิงเซ่อ (chéng sè) แปลว่า สีส้ม 棕色 อ่านว่า จงเซ่อ (zōngsè) แปลว่า สีน้ำตาล 棕色 อ่านว่า จงเซ่อ (zōngsè) แปลว่า สีน้ำตาล ยังมีสีสันอีกมากมาย ทั้งเข้ม ทั้งอ่อน แต่ในขั้นเริ่มต้น เราจะเรียนรู้สีหลัก ๆ  กันเท่านี้ก่อน แล้วค่อยขยายคำศัพท์ภาษาจีนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

การงานอาชีพและเทคโนโลยี สิ่งที่เตรียมออกไปพูดหน้าขั้นเรียนของฉัน ว่านหางจระเข้หลายคนอาจจะทราบถึงประโยชน์ดีๆ เกี่ยวกับว่านหางจระเข้ อีกทั้งยังรู้ถึงการรักษาแผลหรือโรคต่างๆ ด้วยสมุนไพรชนิดดังกล่าวเป็นอย่างดี แต่สำหรับใครที่กำลังมองหาประโยชน์และสรรพคุณเพิ่มเติมของว่านหางจระเข้ วันนี้เราได้นำข้อมูลในส่วนนี้มาแบ่งปันเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่เลือกใช้วิธีธรรมชาติในการรักษาโรคมากขึ้น ส่วนเนื้อหาเหล่านั้นจะน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน มาติดตามพร้อมๆ กันเลย ลักษณะทั่วไปของว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้จัดอยู่ในพืชตระกูลลีเลี่ยม (Lilium) ซึ่งมีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอยู่ที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ในส่วนของสายพันธุ์ของว่านหางจระเข้นั้นมีอยู่หลากหลายชนิด เพราะโดยรวมแล้วมีมากกว่า 300 ชนิดด้วยกัน โดยสายพันธุ์ของมันจะมีตั้งแต่สายพันธุ์ที่มีชนาดใหญ่ไปจนถึงสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้นั้นจะอยู่ที่ใบแหลมคล้ายกับเข็ม มีเนื้อที่หนา และเนื้อข้างในจะมีน้ำเมือกเหนียวอยู่ สมุนไพรชนิดนี้จะมีการผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ซึ่งดอกของมันจะมีสีสันที่แตกต่างกัน เช่น