บทความ

สุขศึกษาและพลศึกษา

รูปภาพ
สุขศึกษาและพละศึกษา สมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกาย ( Physical  Fitness) ความหมาย สมรรถภาพทางกายหมายถึง  สภาวะความสมบูรณ์ของร่างกายที่จะประกอบกิจกรรมทางกายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีพลังงานเหลือไว้ใช้ในสภาวะที่จำเป็น สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ( Health – Related Physical Fitness)            ความสามารถของระบบต่างๆ ในร่างกายประกอบด้วย ความสามารถเชิงสรีรวิทยาด้านต่างๆ ที่ช่วยป้องกันบุคคลจากโรคที่มีสาเหตุจากภาวะการขาดการออกกำลังกาย    นับเป็นปัจจัยหรือตัวบ่งชี้สำคัญของการมีสุขภาพดี ความสามารถหรือสมรรถนะเหล่านี้ สามารถปรับปรุงพัฒนาและคงสภาพได้ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1.         องค์ประกอบของร่างกาย  (Body Composition)   ตามปกติแล้วในร่างกายมนุษย์ประกอบ ด้วย กล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน และ ส่วนอื่นๆ แต่ในส่วนของสมรรถภาพทางกายนั้น หมายถึง สัดส่วนปริมาณไขมันในร่างกายกับมวลร่างกายที่ปราศจากไขมัน โดยการวัดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ไขมัน 2.         ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด  (Cardiorespiratory Endurance)   หมายถึง

แนะแนว

รูปภาพ
แนะแนว การแนะแนวอาชีพ  เป็นกระบงนการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนมีงานทำโดยสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน  กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม  ได้จัดให้มีการ แนะแนวอาชีพ แก่นักเรียน นักศึกษา ผู้หางานทำ และประชาชนทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจในโลกของอาชีพและการทำงาน ซึ่งจะทำให้สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืนไป การ แนะแนวอาชีพ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเลือกอาชีพได้ด้วยตนเอง อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ความถนัด ความเข้าใจ ค่านิยม ของสังคม ตลอดจน สภาวะทางเศรษฐกิจ             ข้อมูลอาชีพ จัดทำขึ้นโดยกองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน เพื่อประโยชน์แก่นัก  แนะแนวอาชีพ  นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้หางานทำ ครูแนะแนว และประชาชนทั่วไป ที่จะใช้เป็นข้อมูลศึกษาในรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับ ลักษณะและสภาพการทำงาน โอกาสการมีงานทำ ความก้าวหน้าของแต่ละอาชีพ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยประกอบด้วยข้อมูลอาชีพต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาชีพที่สำคัญ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน จำนวน 100 อาชีพ

นาฎศิลป์

รูปภาพ
นาฎศิลป์ มารยาทในการชมการเเสดง มารยาทในการชมการเเสดง       มีลักษณะที่มักยึดถือกัน เพื่อแสดงความเป็นผู้มีวัฒนธรรมในการฟังดนตรี หรือที่รู้จักกันว่า “มรรยาทการชมการแสดงดนตรี ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ชมการแสดงควรปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อย และให้เกียรติแก่ผู้แสดง และสถานที่ ดังต่อไปนี้ ๑. การแต่งการเรียบร้อย      ในการไปชมการแสดงดนตรีควรแต่งกายให้เรียบร้อย เหมาะสมโดยเฉพาะการแสดงดนตรีที่เป็นพิธีการมากๆ การแต่งการแบบสากลนิยมจัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ส่วนการแสดงดนตรีทั่วๆไป นักเรียน นิสิต นักศึกษา สามารถแต่งเครื่องแบบไปชมได้ ซึ่งถือว่าเป็นการแต่งกาย ที่เรียบร้อยเหมาะสมเช่นกัน ๒. การไปถึงสถานที่แสดงก่อนเวลา      ถือเป็นธรรมเนียมการปฏิบัติที่ผู้เข้าชมควรไปถึงสถานที่แสดงก่อนเวลา และนั่งตามที่นั่งให้เรียบร้อยก่อนการแสดงจะเริ่มต้น ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยก่อนที่การแสดงจะเริ่ม และไม่เป็นการรบกวนทั้งผู้ชมที่อยู่ข้างเคียง และผู้แสดง เพราะการมาสาย ทำให้การเข้านั่งตามที่รบกวนผู้นั่งข้างเคียง และบางครั้งก็เกิดเสียงดังขณะเข้านั่งที่ จนเป็นการรบกวนสมาธิผู้แสดงด้วย ดังนั้น ถ้ามาสายคว

ศิลปะ

รูปภาพ
ศิลปะ วรรณะของสี วรรณะของสี         คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ          1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน  วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด  ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน          2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น     

วิทยาศาสตร์

รูปภาพ
วิทยาศาสตร์ พลังงานความร้อน ลังงานความร้อน   หรือ   พลังงานอุณหภาพ   ( อังกฤษ :   Thermal energy ) เป็นรูปแบบหนึ่งของ พลังงาน   มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จาก ดวงอาทิตย์   พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ การเผาไหม้ของ เชื้อเพลิง   พลังงานไฟฟ้า   พลังงานนิวเคลียร์   พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ พลังงานเปลวไฟ ฯลฯ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อนยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ " แคลอรี " โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า " แคลอรีมิเตอร์ "   บทความเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ นี้ยังเป็น โครง  คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดย เพิ่มข้อมูล  ดูเพิ่มที่  สถานีย่อย:วิทยาศาสตร์

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานสมัยประวัติศาสตร์ใน การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย        มีความเข้าใจมาช้านานแล้วว่าในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เคยมีชื่อเรียกว่า  "สุวรรณภูมิ"  ตามความเข้าใจของชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้า ขายแถบนี้ แต่ปัญหาที่มักเป็นคำถามอยู่เสมอในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยก็คือ ดินแดนสุวรรณภูมิเป็นของชนชาติใด ชนชาติไทยมาจากไหนมาจากตอนใต้ของจีน หรือมีพัฒนาการมาจากดินแดนในประเทศไทยในปัจจุบัน ปัญหาเหล่านี้มักจะเป็นข้อสงสัยในประวัติศาสตร์ไทยอยู่ตลอดเวลา       ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้น ในปัจจุบันนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้แบ่งช่วงสมัยของประวัติศาสตร์ ออกอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย ลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือช่วงระยะเวลาตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาและดำรง ชีพโดยยึดถือหลักฐานที่เป็นตามธรรมชาติเช่นเดียวกับ สัตว์โลกอื่นๆต่อมามนุษย์บางกลุ่มสามารถปรับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นโดย การนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไฟ น้ำ หิน โลหะ ไม้ เป็นต้น มาใช้ประโยชน์ สร้างสมความเจริญและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง จนสามารถพัฒนาเป็นสังคมเมือง กา

สังคมศึกษา

สังคมศึกษา การบริโภค จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา การบริโภค  อาจหมายถึง การใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือบำบัดความต้องการของมนุษย์คือ 1.การ บริโภคสินค้าคงทน ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้ทำให้สิ่งที่ถูกบริโภคหมดสิ้นหรือหมาดสภาพไป ยังใช้ได้อีกเป็นเวลานาน แต่เมื่อการใช้ย่อมเกิดการสึกหรอ 2.การบริโภคสินค้าไม่คงทน ซึ่งเป็นการบริโภคที่ทำให้สิ่งที่ถูกบริโภคหมดสิ้นไป เช่น ยารักษาโรค อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น ผู้บริโภค คือ ผู้ที่มีความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือในครัวเรือน ผู้บริโภคมีจำนวนมากทั่วประเทศ บางคนก็ตัดสินใจในการซื้ออย่างมีระเบียบแบบแผนสามารถใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ได้คุ้มค่า ชีววิทยา การบริโภค  ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศที่เป็นการกินสิ่งมีชีวิตอื่น อาการที่ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ ใช้คู่กับ อุปโภค เศรษฐศาสตร์ การบริโภค (เศรษฐศาสตร์) ฟังก์ชันการบริโภค  สูตรทางเศรษฐศาสตร์